วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561

มารู้จักกังหันลมกันเถอะ

มารู้จักกังหันลมกันเถอะ! : WIND TURBINE

กังหันลมทำหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานของลมมาเป็นพลังงานกลในการขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อให้สามารถใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้อีกต่อหนึ่ง เรามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบที่สำคัญของกังหันลมกันเลยครับ

1. ห้องเครื่องกังหันลม (NACELLE)

ห้องเครื่องจักรกลของกังหันลมผลิตไฟฟ้า ภายในประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก ๆ ได้แก่ ระบบเกียร์ (อาจจะไม่มีในกรณีที่เป็นกังหันลมแบบไม่มีเกียร์ทด) ระบบเบรก ระบบส่งกำลัง ชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ส่วนควบคุม ห้องเครื่องของกังหันลมขนาดใหญ่จะมีหลังคาด้านบนเป็นแพลตฟอร์มใช้รับส่งพนักงานและเครื่องมือต่างๆ ในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมกังหันลม
capture-20150625-131927
ห้องเครื่องกังหันลมแบบมีเกียร์ทด

2. ชุดแกนหมุนใบพัด (ROTOR BLADE)

ชุดแกนหมุนใบพัด ทำหน้าที่รับหรือปะทะกับแรงลมทำให้กังหันลมหมุน ประกอบด้วย ใบพัด (blade) ชุดควบคุมการปรับมุมใบพัด (pitch control) ซึ่งมีในกังหันลมขนาดใหญ่ ดุมใบพัด (hub) และเพลาโรเตอร์ (rotor shaft)
ใบพัด (blade) กังหันลมถูกออกแบบให้สามารถสกัดพลังงานจากลมได้สูงสุดโดยใช้แรงทางอากาศพลศาสตร์ในการเคลื่อนและยังต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิตด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณโคนใบพัดที่มีความเครียดสูง เนื่องจากแรงบิดสูงที่สุดใบพัดต้องบิดมุมเนื่องจากความเร็วในการเคลื่อนที่ของใบพัดมีค่าไม่เท่ากัน คือ บริเวณปลายปีกใบพัดที่อากาศเคลื่อนผ่านเร็วกว่า ทำให้มุมที่อากาศกระทำต่อใบพัดมีค่ามาก จึงจำเป็นต้องบิดมุมใบพัดไปด้านหน้า และค่อยๆ ลดลงจนถึงโคนใบพัด มุมบิดมีค่าประมาณ 10 ถึง 20 องศาจากโคนใบพัดถึงปลายใบพัด ความหนาของแพนอากาศของใบพัดจากปลายใบถึงโคนใบพัดมีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำให้โครงสร้างของใบพัดสามารถรับโหลดที่เกิดจากแรงทางอากาศพลศาสตร์ และแรงโน้มถ่วงของโลกได้ โดยอัตราส่วนความหนาต่อความยาวของคอร์ด (chord) จะมีค่าประมาณร้อยละ 10 ถึง 15 ตลอดความยาวใบพัด
ชุดควบคุมการปรับมุมใบพัด (pitch control) ทำหน้าที่ปรับมุมใบพัดกังหันลมให้หมุนเข้าหาลม (feathering) หรือหมุนห่างจากลม (active stall) เพื่อลดพลังงานที่รับจากลมและควบคุมการผลิตพลังงานให้คงที่เท่ากับพิกัด
ดุมใบพัด (hub) ของกังหันลมมี 2 ลักษณะ คือ ดุมใบพัดแบบง่าย ใบพัดกังหันลมยึดโดยตรงกับดุมใบพัดโดยใช้โบลต์และดุมใบพัดแบบซับซ้อน ใบพัดกังหันลมยึดกับชุดปรับมุมใบพัด เพื่อปรับมุมใบพัดให้เหมาะสมกับความเร็วลมต่างๆ เพื่อควบคุมความเร็วรอบของการหมุนและกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ และชุดปรับมุมใบพัดก็จะยึดกับดุมใบพัดด้วยโบลต์ซึ่งต่อกับเพลาของโรเตอร์ซึ่งเชื่อมต่อกับกล่องเกียร์หรือต่อโดยตรงกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
image002
ชุดแกนหมุนใบพัดของกังหันลมขนาดใหญ่                 ลักษณะการควบคุมการปรับหมุนใบพัด                     ดุมใบพัด

3. เบรกกังหันลม (WIND TURBINE BREAK)

เบรกกังหันลมอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หยุดกังหันลมทั้งในขณะเวลาปกติและสภาวะฉุกเฉิน เป็นระบบความปลอดภัยหลักที่สำคัญ ระบบเบรกของกังหันลมขนาดใหญ่ประกอบด้วย 2 ระบบ คือ ระบบเบรกทางอากาศพลศาสตร์และระบบเบรกทางกล ระบบแรกเป็นระบบเบรกหลัก ที่สำคัญ มีความปลอดภัย และหยุดกังหันลมได้อย่างนิ่มนวล ทำให้ไม่เกิดความเครียดขึ้นกับชิ้นส่วนหรือการฉีกขาดสึกหรอกับกังหันลม กังหันลมสมัยใหม่มีระบบเบรกทางอากาศพลศาสตร์ 2 ลักษณะ คือ กังหันลมที่ปรับมุมใบพัดให้เป็นมุมประมาณ 90 องศา ตามแนวแกนเพื่อเบรก ส่วนกังหันลมที่ไม่สามารถปรับมุมใบพัดจะเบรกโดยหมุนปลายใบพัดไป 90 องศา (เบรกปลายใบพัด) การทำงานของระบบเบรกทางอากาศพลศาสตร์ที่ใช้สปริงมีความปลอดภัย เพราะในกรณีระบบไฟฟ้าล้มเหลวระบบจะทำงานโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าใช้ระบบไฮดรอลิก เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าจะสูญเสียความดัน ทำให้ใบพัดหรือปลายใบพัดหมุนกลับมาอยู่ในตำแหน่งเดิมซึ่งเป็นสถานการณ์อันตรายมาก ส่วนระบบเบรกทางกลมักใช้เป็นเบรกสำรองของระบบเบรกทางอากาศพลศาสตร์ โดยกังหันลมที่สามารถควบคุมมุมใบพัดได้แทบไม่จำเป็นต้องใช้เบรกทางกลเลย ยกเว้นในกรณีที่ทำการบำรุงรักษาหรือหยุดการใช้งานกังหันลม (ทำให้กังหันลมหยุดนิ่ง)
image003
ระบบเบรกทางกลของกังหันลม
image004
เบรกปลายใบพัด

4. ระบบควบคุมกังหันลม (WIND TURBINE CONTROLLER)

ระบบควบคุมกังหันลมประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบการทำงานของกังหันลมอย่างต่อเนื่อง เก็บรวบรวมสถิติต่างๆ เกี่ยวกับการทำงาน ควบคุมการทำงานของสวิทช์ควบคุมจำนวนมาก ปั๊มไฮดรอลิก วาล์ว และมอเตอร์ต่างๆภายในกังหันลม ความน่าเชื่อถือของระบบควบคุมเป็นสิ่งสำคัญมากในการควบคุมการทำงานของกังหันลมขนาดใหญ่ให้ถูกต้องตลอดเวลา มีระบบป้องกันการทำงานผิดพลาด และระบบซํ้าสำรอง (redundancy) โดยเน้นด้านความปลอดภัย คอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องของส่วนควบคุมจะอ่านและเปรียบเทียบค่าจากเซ็นเซอร์ทั้งสองชุด เพื่อให้แน่ใจว่ามีค่าถูกต้อง นอกเหนือจากนี้แล้วระบบควบคุมยังทำหน้าที่ติดต่อสื่อสาร การสื่อสารภายนอกระหว่างตัวกังหันกับผู้ควบคุมเป็นการรับส่งสัญญาณเตือนผ่านทางสายโทรศัพท์หรือวิทยุสื่อสาร การติดต่อสื่อสารภายในเป็นการติดต่อระหว่าง 3 ส่วน คือ จากดุมกังหันไปยังส่วนควบคุมที่ห้องเครื่อง เป็นการสื่อสารแบบอนุกรมผ่านทางวงแหวนลื่น (communication slip ring) และจากห้องเครื่องไปยังส่วนควบคุมที่อยู่ด้านล่างผ่านเส้นใยแก้วนำแสง
image005
ระบบควบคุมการทํางานของกังหันลมขนาด 1.5 เมกะวัตต์ 
ที่ตําบลหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

5. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม (WIND TURBINE GENERATOR)

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลม ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานกลที่เกิดจากการหมุนของใบพัดกังหันลมเป็นพลังงานไฟฟ้า การใช้งานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลมส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า เพื่อส่งพลังงานที่ผลิตได้ให้กับระบบไฟฟ้า แต่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกังหันลมขนาดเล็กจะเชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ เพื่อเก็บสะสมพลังงานแรงดันไฟฟ้าที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสร้างขึ้น ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ ปกติจะเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส 690 โวลต์ ซึ่งถูกส่งไปที่หม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อเพิ่มแรงดันให้สูงขึ้นระหว่าง 10,000 ถึง 33,000 โวลต์ (ระดับแรงดันไฟฟ้าปานกลาง) ตามมาตรฐานระบบแรงดันไฟฟ้าของแต่ละประเทศ โดยผู้ผลิตกังหันลมขนาดใหญ่จะผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีความถี่ทั้ง 50 Hz (สำหรับระบบจำหน่ายไฟฟ้าส่วนใหญ่ของโลก) และ 60 Hz (สำหรับระบบไฟฟ้าในประเทศสหรัฐอเมริกา)
ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากกังหันลมขนาดเล็ก (ใช้งานอยู่ในระบบแรงดันตํ่าน้อยกว่า 1,000 โวลต์) ระดับแรงดันไฟฟ้าที่สร้างขึ้นจะมีหลายขนาดให้เลือก เช่น 24 โวลต์ 36 โวลต์ 48 โวลต์ 120 โวลต์ เป็นต้น เพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งานในขั้นตอนต่อไป เช่น ถ้านำใปชาร์จแบตเตอรี่ก็จะเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแรงดันตํ่า แต่ถ้านำไปใช้ในการเชื่อมต่อกับระบบจำหน่าย ก็จะเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีระดับแรงดันไฟฟ้าสูง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องการระบบระบายความร้อนในขณะทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้พัดลมขนาดใหญ่ในการระบายความร้อน แต่ก็อาจจะมีผู้ผลิตบางรายใช้นํ้าในการระบายความร้อน ซึ่งการใช้ของเหลวในการระบายความร้อนจะทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีขนาดเล็กลงมีประสิทธิภาพดีขึ้น แต่ข้อเสียของระบบนี้ คือ ต้องการอุปกรณ์ที่ใช้ในการระบายความร้อนออกจากของเหลวที่ใช้ ส่วนในกังหันลมขนาดเล็กจะใช้การระบายความร้อนโดยธรรมชาติ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากกัง หันลมมีหลายชนิด คือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบซิงโครนัส (synchronous generator)
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำแบบกรงกระรอก (squirrel-cage induction generator) เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำแบบป้อนสองทาง (doubly-fed induction generator; DFIG) เป็นต้น การนำไปใช้งานต้องเลือกให้เหมาะสมโดยพิจารณาได้จากระบบส่งกำลังทางกลว่า เป็นระบบที่มีเกียร์หรือไม่ ถ้าเป็นระบบที่ไม่มีเกียร์จะใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบซิงโครนัสแบบจำนวนขั้วมาก (เนื่องจากความเร็วรอบตํ่า) แต่ถ้าระบบส่งกำลังมีระบบเกียร์ก็จะเลือกใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำ จะเป็นแบบกรงกระรอกหรือแบบป้อนสองทางก็ขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัย ส่วนในกังหันลมขนาดเล็กจะนิยมใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบซิงโครนัสแบบแม่เหล็กถาวรเป็นส่วนใหญ่
turbine          turbine2

6. เสากังหันลม (WIND TURBINE TOWER)

เสากังหันลมเป็นเสารองรับห้องเครื่องและโรเตอร์ของกังหันลม เสาสำหรับกังหันลมขนาดใหญ่ อาจเป็นเสาแบบท่อเหล็ก (tubular steel towers) เสาแบบโครงถัก (lattice towers) หรือเสาคอนกรีต เสาสำหรับกังหันลมขนาดเล็กเป็นแบบท่อเหล็กใช้สลิงยึดโยง
เสาแบบท่อเหล็ก กังหันลมขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ใช้เสาแบบท่อเหล็ก แต่ละท่อนยาว 20-30 เมตร ปลายแต่ละด้านมีหน้าแปลน (flange) ไว้สำหรับยึดสลักเกลียวเข้าด้วยกันลักษณะเป็นทรงกรวย (เส้นผ่านศูนย์กลางของเสาที่ฐานกว้างที่สุด) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและประหยัดวัสดุในเวลาเดียวกัน
เสาแบบโครงถัก ถูกผลิตโดยใช้เหล็กโพรไฟล์ (เหล็กสำเร็จรูป) เชื่อม ข้อดีของเสาแบบโครงถัก คือ มีราคาถูกเพราะใช้วัสดุเพียงครึ่งหนึ่งของเสาแบบท่อเหล็ก แต่กังหันลมขนาดใหญ่สมัยใหม่ไม่ค่อยนิยมใช้
เสาแบบท่อเหล็กใช้สลิงยึดโยง สร้างจากท่อเหล็กขนาดเล็กและยึดโยงด้วยสลิง ข้อดี คือ นํ้าหนักเบาและราคาถูกแต่ข้อเสีย คือ เข้าถึงโคนเสายาก ทำให้ไม่เหมาะสำหรับสร้างทุ่งกังหันลม และมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบด้านความปลอดภัยโดยรวม
เสาแบบลูกผสม (hybrid tower) สร้างจากการผสมผสานเทคนิคที่แตกต่างกัน เช่น ผสมผสานระหว่างเสาแบบโครงถักและเสาแบบสลิงยึดโยง ตัวอย่างหนึ่งได้แก่ เสาสามขาของกังหันลมยี่ห้อโบนัส ขนาด 95 กิโลวัตต์
การเลือกชนิดของเสากังหันลมต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ ทั้งด้านราคา อากาศพลศาสตร์และไดนามิกของโครงสร้างเสาโดยมีความสูงของเสากังหันลมเป็นตัวแปรที่สำคัญ
image008
เสาแบบท่อเหล็ก
image009
เสาแบบโครงถัก
image010
เสาแบบท่อเหล็กใช้สลิงยึดโยง
image011
เสาแบบผสมผสาน

7. กลไกหมุนหาลม (YAW MECHANISM)

กังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่มีกลไกควบคุมการหมุนโรเตอร์กังหันลม เพื่อให้หันเข้าหาลมหรือให้หลบลม กังหันลมแกนหมุนแนวนอน ส่วนใหญ่จะใช้มอเตอร์และกล่องเกียร์ขับเคลื่อนกลไกหมุนหาลมภายในมอเตอร์มีระบบเบรก เพื่อหยุดกังหันลมให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ ตัวควบคุมกลไกหมุนหาลมจะตรวจสอบทิศทางของกังหันลมร่วมกับเซ็นเซอร์วัดทิศทางลมที่ติดตั้งอยู่บนห้องเครื่อง สายเคเบิ้ลที่เชื่อมต่อระหว่างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าลงมาด้านล่างของกังหันลมจะบิดเมื่อกังหันลมหมุนในทิศทางเดียวกันหลายๆ รอบ กังหันลมมีอุปกรณ์นับจำนวนรอบการบิดของสายเคเบิ้ล เพื่อสั่งระบบควบคุมให้หมุนกังหันลมกลับ เพื่อป้องกันสายขาดและยังมีสวิทช์ตรวจสอบความตึงของสายเคเบิ้ลเพื่อใช้เป็นระบบความปลอดภัยสำรองอีกด้วย สำหรับกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมีกลไกการหมุนโรเตอร์กังหันลม ชนิดหันเข้าหาลมเองโดยอัตโนมัติ และไม่ต้องใช้มอเตอร์ในการขับเคลื่อน
image012
อุปกรณ์นับจํานวนรอบและสวิทช์ตรวจสอบความตึงของสายเคเบิ้ล
ที่มา : http://ele.aut.ac.ir/~wind/en/res/spinpull.jpg
image013
กลไกหมุนหาลม
image014
มอเตอร์ และกล่องเกียร์ ขับเคลื่อนกลไกหมุนหาลม
Bibliography
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2557). พลังงานลม. In กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, สารานุกรมพลังงานทดแทน (pp. 291, 295, 312-313, 316, 318). กรุงเทพมหานคร,ประเทศไทย.

อ้างอิง

ขนมไทย


ขนมไทย คือ อาหารหวานของอาหารไทย ซึ่งลักษณะ ขนมไทย จะมีความหวานจากน้ำตาล ความมันจากกะทิ เป็นหลัก โดยมีส่วนผสมของวัตถุดิจากธรรมชาติ เช่น แป้ง ไข่ไก่ ไข่เป็ด เนื้อผลไม้ต่างๆ เช่น ลูกตาล ลูกชิด มะพร้าว กล้วย โดยเทคนิคการทำขนมไทย ส่วนมากจะเป็นการนึ่ง การต้ม เป็นหลัก

ประเภทของเครื่องดนตรีสากล

ประเภทของเครื่องดนตรีสากล

การจำแนกประเภทของเครื่องดนตรีสากล(music Instruments) 
           เครื่องดนตรีสากลในปัจจุบันสามารถจำแนกหรือจัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของเสียงที่คล้ายคลึงกัน และลักษณะของเครื่องดนตรี แบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

ทฤษฎีโน้ตพื้นฐาน

ทฤษฎีโน้ตพื้นฐาน

                 ในการที่เราจะเล่นดนตรีให้เก่ง เล่นได้เกิดสุนทรียภาพ เเละไพเราะนั้น เราจำเป็นต้องอ่านโน้ตเเละเครื่องหมายต่างๆในโน้ตได้ ซึ่งโน้ตดนตรีทั่วโลกใช้เหมือนกันทั้งการอ่านเเละเขียน ถึงจะมีชื่อเรียกที่ต่างกันบ้าง เเต่ผู้ที่อ่านโน้ตได้ ไม่ว่าจะเอาโน้ตมาจากที่ใด ก็สามารถเล่นได้เหมือนกันทั่วโลก จึงมีคำกล่าวว่า โน้ตดนตรี เป็นหนึ่งในภาษาสากลของโลก

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561

ประวัติดนตรีตะวันตก


sit amet, consectetur adipiscing elit. Donec sit amet interdum libero, at bibendum ante. Morbi tincidunt lacinia enim vitae ultrices. Integer facilisis elementum tristique. Donec dignissim velit felis, id tincidunt ex lacinia nec.

การวาดการ์ตูน


Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Donec sit amet interdum libero, at bibendum ante. Morbi tincidunt lacinia enim vitae ultrices. Integer facilisis elementum tristique. Donec dignissim velit felis, id tincidunt ex lacinia nec.

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

แนะนำอนิเมะ

อ้างอิง
https://youtu.be/tzCVikMiKZA

การใช้งาน iphone6splus

Lorem Ipsum คืออะไร?

Lorem Ipsum คือ เนื้อหาจำลองแบบเรียบๆ ที่ใช้กันในธุรกิจงานพิมพ์หรืองานเรียงพิมพ์ มันได้กลายมาเป็นเนื้อหาจำลองมาตรฐานของธุรกิจดังกล่าวมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เมื่อเครื่องพิมพ์โนเนมเครื่องหนึ่งนำรางตัวพิมพ์มาสลับสับตำแหน่งตัวอักษรเพื่อทำหนังสือตัวอย่าง Lorem Ipsum อยู่ยงคงกระพันมาไม่ใช่แค่เพียงห้าศตวรรษ แต่อยู่มาจนถึงยุคที่พลิกโฉมเข้าสู่งานเรียงพิมพ์ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ และยังคงสภาพเดิมไว้อย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลง มันได้รับความนิยมมากขึ้นในยุค ค.ศ. 1960 เมื่อแผ่น Letraset วางจำหน่ายโดยมีข้อความบนนั้นเป็น Lorem Ipsum และล่าสุดกว่านั้น คือเมื่อซอฟท์แวร์การทำสื่อสิ่งพิมพ์ (Desktop Publishing) อย่าง Aldus PageMaker ได้รวมเอา Lorem Ipsum เวอร์ชั่นต่างๆ เข้าไว้ในซอฟท์แวร์ด้วย

อ้างอิง